Coupon-discount

แนะนำ เทคนิคลดค่าครองชีพ
ทุกครั้ง ที่ ซื้อ ของจาก marketplace อย่าลืม กดรับคูปอง และเช็คโปรโมชั่น บัตรเครดิต ก่อน กดจ่ายเงินทุกครั้ง

กดรับ คูปอง

บันทึกเคส : โรคพาร์กินสัน



โรคพาร์กินสันคืออะไร

โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s Disease) หรือที่รู้จักกันในชื่อ “โรคสันนิบาตลูกนก” คือ หนึ่งในกลุ่มโรคที่เกิดจากการเสื่อมของเซลล์ประสาท (Progressive Neurodegenerative Disease) ที่สร้างสารสื่อประสาท “โดพามีน” ส่งผลให้ระดับของ โดพามีน ในสมองลดลง ทำให้การควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายทำงานผิดปกติ

โรคพาร์กินสันเป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมของเซลล์ประสาท ที่พบมากเป็น อันดับที่ 2 รองจากโรคอัลไซเมอร์ จากสถิติ พบผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน มากกว่า ล้านคนทั่วโลก มักพบในประชากรที่อายุมากกว่า 55 ปี และเป็นไปได้มากว่าจำนวนผู้ป่วยโรคพาร์คินสันในประเทศไทยจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ

สาเหตุของโรคพาร์กินสัน ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าเกิดจากปัจจัยหลายอย่างร่วมกัน ได้แก่

ปัจจัยทางพันธุกรรม : มีประวัติคนในครอบครัวป่วยด้วยโรคพาร์กินสัน
ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม : การได้รับสารพิษหรือสารเคมีจำพวกโลหะหนัก เช่น แมงกานีส ทองแดง โดยการสัมผัส การรับประทาน การสูดดม, การอาศัยอยู่ในเขตอุตสาหกรรม, การได้รับบาดเจ็บทางสมอง

สาเหตุของโรคพาร์กินสัน

ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคพาร์กินสันอย่างแน่ชัด แต่เชื่อว่ามีปัจจัยที่อาจส่งผลให้เกิดโรคพาร์กินสันได้ ได้แก่
• ปัจจัยทางพันธุกรรม ในรายที่มียีนผิดปกติอาจเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคพาร์กินสันได้
• ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม เช่น การได้รับสารบางอย่างเป็นเวลานานๆ ไม่ว่าจะโดยการสูดดมหรือการรับประทาน หากแต่ยังไม่ทราบว่าสารใดในสิ่งแวดล้อมที่มีส่วนทำให้เกิดโรคพาร์กินสัน

อาการของโรคพาร์กินสัน
• อาการทางกาย
o สั่น
o เคลื่อนไหวช้า
o หน้านิ่ง
o พูดช้า เสียงค่อย
o น้ำลายไหล
o ร่างกายแข็งเกร็ง
o เดินลำบาก เดินซอยเท้า เท้าติดเวลาก้าวขา
o หกล้มง่าย
• อาการทางจิตใจ
o ซึมเศร้า
o วิตกกังวล
• อาการอื่นๆ
o ความจำระยะสั้นไม่ค่อยดีในระยะต้น ความจำเสื่อมในระยะท้าย
o เหงื่อออกมาก
o ท้องอืด ท้องผูก
o ปัสสาวะบ่อย ควบคุมการปัสสาวะไม่ได้
o การรับรู้กลิ่นและรสไม่ดี
o มึนศีรษะเวลาลุกขึ้นเนื่องจากความดันโลหิตต่ำลง
การรักษาโรคพาร์กินสัน

ในปัจจุบันยังไม่มีการรักษาโรคพาร์กินสันให้หายขาดหรือหยุดยั้งการดำเนินของโรคได้ ซึ่งวิธีการรักษาที่ใช้โดยทั่วไปมีดังนี้
• การรักษาด้วยยา เป็นการรักษาตามอาการ โดยใช้ยาที่ออกฤทธิ์ที่ระบบโดพามีน
• การรักษาโดยการผ่าตัดกระตุ้นสมองส่วนลึก (deep brain stimulation) เป็นวิธีการรักษาด้วยการผ่าตัดฝังขั้วไฟฟ้าเพื่อไปกระตุ้นสมอง ใช้สำหรับรักษาผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน ซึ่งเคยได้รับการรักษาด้วยยา แต่มีอาการมากขึ้นจนการรักษาด้วยยาไม่ให้ผลดีเท่าที่ควร

ทำความเข้าใจ ‘โรคพาร์กินสัน’ วิธีการและแนวทางการรักษาและฟื้นฟูผู้ป่วยให้กลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

การดูแลผู้ป่วยพาร์กินสัน

เพราะอาการของโรคพาร์กินสันนั้นทำให้การดำเนินชีวิตเกิดอุปสรรค ที่สำคัญโรคนี้ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ คนรอบข้างจึงควรทำความเข้าใจและคอยช่วยดูแล เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตได้อย่างราบรื่นขึ้น โดยวิธีการต่าง ๆ ดังนี้

1.ช่วยผู้ป่วยในการบริหารร่างกาย เพื่อป้องกันการเกิดข้อยึดติด ฝึกการทรงตัว เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
2.คอยระวังเรื่องอุบัติเหตุ การล้ม ปัญหาการกลืน การพูด
3.ให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารที่มีกากใยสูง เช่น ผัก ผลไม้ เนื่องจากผู้ป่วยพาร์กินสันจะสามารถทำ กิจกรรมต่าง ๆ ได้ช้า จึงทำให้มักมีอาการท้องผูก

นอกเหนือจากการดูแลทางด้านร่างกายแล้ว ผู้ดูแลต้องทำความเข้าใจผู้ป่วยและคอยดูแลสภาพจิตใจของผู้ป่วยด้วย เนื่องจากผู้ป่วยบางรายอาจมีปัญหานอนไม่หลับ ซึ่งอาจส่งผลให้ผู้ป่วยมี ปัญหาด้านจิตใจ มีความวิตกกังวล และอาจนำไปสู่ภาวะซึมเศร้า จนแยกตัวออกห่างจากสังคม
เห็นกันไหมคะว่าโรคพาร์กินสันนั้นเป็นโรคร้ายทางสมองที่ไม่ใช่แค่อาการสั่นเกร็ง เพราะผู้ป่วย พาร์กินสันนั้นนอกจากจะต้องได้รับการดูแลทางด้านร่างกายแล้ว ยังต้องได้รับการดูแลทางด้านจิตใจอีกด้วย

……………………………………………….
*แพทย์แผนไทยจิตอาสา
• พท.ว. ๒๖๓๖๑ , พท.ภ.๓๒๓๔๗
• พท.กช.๐๑-๐๐๒๖๐/๒๕๖๖
• ร่วมทำงานวิจัยการใช้กัญชาทางการแพทย์
• ทำหน้าที่เวชกรรมไทย ให้คำแนะนำการดูแลสุขภาพ
• จ่ายยาสมุนไพรกัญชาและบันทึกเคสผู้ป่วย
• ที่ คลินิกวัดสิรินธรวรารามภูพร้าว
• ต.ช่องเม็ก อ.สิรินธร
• จ.อุบลราชธานี

การรับชม : 24 ครั้ง – 2023-08-06 13:56:13