Coupon-discount

แนะนำ เทคนิคลดค่าครองชีพ
ทุกครั้ง ที่ ซื้อ ของจาก marketplace อย่าลืม กดรับคูปอง และเช็คโปรโมชั่น บัตรเครดิต ก่อน กดจ่ายเงินทุกครั้ง

กดรับ คูปอง

รมว.สธ. ตั้งทีมขับเคลื่อนกัญชาเสรีทางการแพทย์ // คนหลังข่าว 27 พ.ย



นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.สาธารณสุข ได้ลงนามในคำสั่งกระทรวงสาธารณสุข แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายกัญชาเสรีทางการแพทย์ จำนวน 34 คน โดยมี ดร.ภก.อนันต์ชัย อัศวเมฆิน อาจารย์ประจำคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการ

ดร.ภก.อนันต์ชัย อัศวเมฆิน ประธานคณะกรรมการ กล่าวว่านโยบายกัญชาเสรีทางการแพทย์นั้น มีจุดเริ่มต้นมาจากความต้องการของประชาชน ในการนำองค์ความรู้ภูมิปัญญาชาวบ้านและการแพทย์แผนไทยมาใช้ประโยชน์ในการดูแลสุขภาพ รวมไปถึงการใช้เพื่อรักษาโรค ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขเองก็ได้ตระหนักถึงความสำคัญของนโยบายนี้ จึงได้ดำเนินงานอย่างเร่งด่วนเพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างรวดเร็ว แต่ด้วยข้อจำกัดด้านกฎหมายในหลาย ๆ ประเด็น ทำให้ กระทรวงสาธารณสุขจำเป็นต้องเริ่มดำเนินการจากประเด็นที่สำคัญก่อน ตั้งแต่การยกร่างพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฉบับที่ 8 ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา โดยจะอนุญาตให้ผู้ป่วยสามารถปลูกกัญชาเพื่อใช้สำหรับดูแลสุขภาพตนเอง และให้บุคลากรทางการแพทย์ปลูกเพื่อใช้ในการรักษาผู้ป่วยของตนได้ อีกทั้งการแก้ไขประกาศกระทรวงฯสำหรับพืชกัญชง เพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับบริบทของสังคมไทย รวมไปถึงการส่งเสริมนโยบายเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงยากัญชาที่มีคุณภาพใกล้บ้าน

โดยการแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายฯ นี้ เพื่อทำงานร่วมกับภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งในและนอกกระทรวง ในการนำนโยบายกัญชาเสรีทางการแพทย์มาสู่การปฏิบัติให้เกิดเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น โดยคณะกรรมการฯ จะมีบทบาทสำคัญในการติดตาม กำกับและประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบาย รวมถึงวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคที่ทำให้การดำเนินนโยบายไม่บรรลุผล เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด

ดร.ภก.อนันต์ชัย ได้กล่าวเพิ่มเติมถึงแนวทางการดำเนินงานของคณะกรรมการฯ ว่า “ในปีนี้เราจะมุ่งเน้นใหคนไทยได้รับประโยชน์สูงสุดจากกัญชาและกัญชง ทั้งในการดูแลสุขภาพ การรักษาผู้ป่วย และยังสามารถต่อยอดผลิตภัณฑ์และการบริการไปสู่การสร้างรายได้ในเชิงเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ยังมีภารกิจที่ต้องเร่งดำเนินการต่อไป คือ การกระจายยาให้ภาคเอกชน เนื่องจาก พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฉบับปัจจุบันจำกัดให้เฉพาะหน่วยงานภาครัฐที่สามารถผลิตยากัญชาได้ รวมถึงการพัฒนากลไกและระบบควบคุมการใช้กัญชาที่เหมาะสมตามความเสี่ยง ซึ่งเป็นหลักการสำคัญที่ทั่วโลกใช้กันอยู่ในปัจจุบัน

อย่างไรก็ตาม สำหรับโมเดลกัญชา 6 ต้นต่อครอบครัว เราก็ยังไม่ทิ้ง แต่เราจะต้องดำเนินการอย่างรอบคอบบนพื้นฐานของหลักวิชาการ และอยู่ภายใต้กฎระเบียบที่ครอบคลุม

การรับชม : 110 ครั้ง – 2020-11-27 15:00:21