Coupon-discount

แนะนำ เทคนิคลดค่าครองชีพ
ทุกครั้ง ที่ ซื้อ ของจาก marketplace อย่าลืม กดรับคูปอง และเช็คโปรโมชั่น บัตรเครดิต ก่อน กดจ่ายเงินทุกครั้ง

กดรับ คูปอง

“สื่อสาส์นกัญชา สมาคมแพทย์” แนะแนวทางเลือกใช้กัญชา



THC และ CBD พระเอกหรือผู้ร้ายในกัญชา

https://th.postupnews.com/2019/12/rcpt-thc-cbd-marijuana.html

ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย จัดประเด็น เรื่อง “สื่อสาส์นกัญชา: สมาคมแพทย์” พร้อมหน่วยงานสมาคมแพทย์ฯ รวมตัวกันเรียกร้องต้านการใช้สารสกัดจากกัญชา โดยมีเหตุผลให้ประชาชนตระหนักและเข้าใจมากยิ่งขึ้น

ศ.นพ.สมชาย เอี่ยมอ่อง ประธานราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทยกล่าวว่า การใช้กัญชาทางการแพทย์ ยังเป็นที่ถกเถียงในทางการรักษาของประเทศไทยตลอดปี 2562 ที่ผ่านมา ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย จึงร่วมกับสมาคมแพทย์วิชาชีพในแขนงต่าง ๆ มาร่วม “สื่อสาส์นกัญชา: สมาคมแพทย์” เพื่อให้ประชาชนตระหนักและเข้าใจมากยิ่งขึ้น

ผศ.นพ.เอกภพ สิระชัยนันท์ นายกมะเร็งวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ยาแผนปัจจุบันที่ใช้ในการรักษาโรคมะเร็ง รวมถึงยาที่ใช้ป้องกัน รักษาผลข้างเคียงจากการรักษามะเร็ง มีประสิทธิภาพสูงแต่สารสกัดจากกัญชาที่ใช้ศึกษาในต่างประเทศยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนพอที่จะสนับสนุนการใช้ในการรักษาโรคมะเร็ง ดังนั้นการเริ่มใช้สารสกัดจากกัญชา อาจเริ่มได้ต่อเมื่อได้รับการประเมินโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญว่า ไม่สามารถให้การรักษาที่จำเพาะต่อโรค ที่จะช่วยบรรเทาอาการให้กับผู้ป่วยได้ และใช้ยาแผนปัจจุบันในการบรรเทาอาการ เต็มที่แล้วไม่ได้ผล

ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย จัดประเด็น เรื่อง “สื่อสาส์นกัญชา: สมาคมแพทย์” พร้อมหน่วยงานสมาคมแพทย์ฯ รวมตัวกันเรียกร้องต้านการใช้สารสกัดจากกัญชา โดยมีเหตุผลให้ประชาชนตระหนักและเข้าใจมากยิ่งขึ้น
https://web.facebook.com/737048116416039/videos/462694047773540/

ในเรื่องอาการปวดจากมะเร็ง พิจารณาเป็นการรักษาเสริมกับยาแก้ปวดแผนปัจจุบัน เมื่อได้รับยากลุ่มโอปิออยด์ในขนาดสูงแล้วยังควบคุมอาการปวดไม่ได้ ส่วนการใช้สารสกัดจากกัญชากับการรักษาอาการคลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร นอนไม่หลับและการทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น พบว่ายังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนว่ามีประสิทธิภาพสำหรับการใช้สารสกัดจากกัญชาในปัจจุบัน

ข้อควรพิจารณาเนื่องจากสารสกัดจากการกัญชายังขาดข้อมูลด้านเภสัชวิทยาในผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายจริง จึงทำให้การใช้ยาในทางปฏิบัติมีข้อจำกัดและความเสี่ยง ดังต่อไปนี้ 1.สารสกัดจากกัญชามีผลข้างเคียงสูง โดยเฉพาะมีผลต่อความสามารถในด้านการรับรู้และการตัดสินใจ (cognitive function) 2.ยังขาดข้อมูลเกี่ยวกับขนาดยาที่เหมาะสมต่อการรักษาตามข้อบ่งชี้ดังกล่าวและความเป็นพิษของยา นอกเหนือจากนั้น อายุรแพทย์โรคมะเร็งส่วนใหญ่ไม่เคยมีประสบการณ์ในการใช้ และไม่มั่นใจในความปลอดภัยของยาดังกล่าวในผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย และ 3.มะเร็งวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย มีความกังวลในการนำสารสกัดจากกัญชา ไปใช้ผิดข้อบ่งชี้ (drug abuse) เนื่องจากยากต่อการควบคุมในการใช้

ศ.นพ.วิชัย อิทธิชัยกุลฑล กรรมการบริหารสมาคมการศึกษาเรื่องความเจ็บปวดแห่งประเทศไทย ได้แสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อการนำสารสกัดจากกัญชาทางการแพทย์ มาใช้เพื่อระงับปวด ว่า การใช้สารสกัดจากกัญชาเพื่อระงับปวดจากมะเร็งในปัจจุบันมีหลักฐานการวิจัยอยู่ในระดับดีเล็กน้อยถึงปานกลาง แสดงให้เห็นว่าสารสกัดจากกัญชาบางชนิดมีผลระงับปวดจากมะเร็งดีกว่ายาหลอก แต่ไม่เหนือกว่ายาระงบปวดจากมะเร็งกลุ่มโอปิออยด์ และพบผลข้างเคียงเพิ่มขึ้นตามปริมาณของสารสกัดจากกัญชาที่ใช้

ด้านผศ.นพ.สหภูมิ ศรีสุมะ กรรมการบริหารสมาคมพิษวิทยาแห่งประเทศไทย กล่าวว่า “ภาวะพิษจากกัญชาและสารสกัดกัญชา” นั้น กัญชาเป็นพืชล้มลุกที่มีหลายสายพันธุ์ สายพันธุ์และวิธีการปลูกส่งผลให้มีปริมาณสารออกฤทธิ์ที่แตกต่างกัน โดยสารที่มีฤทธิ์เสพติด ทำให้เกิดอาการเมาเคลิ้ม และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอาการทางจิตเวชคือ delta9-tetrahydrocannabinol (delta9-THC) ขณะที่สารอีกชนิดคือ cannabidiol (CBD) ไม่มีฤทธิ์เสพติด และช่วยต้านอาการเมาเคลิ้มจาก delta9-THC กัญชาที่มีผู้นำมาใช้เสพเพื่อความรื่นเริงจนบางครั้งเสพติดนั้น มักเป็นชนิดที่มีปริมาณของสาร delta9-THC สูงและมี ปริมาณของ CBD ต่ำสารในกัญชาสามารถผ่านจากแม่สู่ลูกในครรภ์ และสามารถผ่านลงในน้ำนมได้ 2. ความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะพิษจากกัญชาและสารสกัดกัญชา ภาวะพิษเฉียบพลันจากกัญชาที่มี delta9-THC สูงจะทำให้เกิดอาการเด่นทางระบบประสาท และอาการระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่น อาการเมาเคลิ้ม สับสน ประสาทหลอน หมดสติ เดินเซ กล้ามเนื้อกระตุก เจ็บแน่นหน้าอก อัตราการเต้นหัวใจผิดปกติ หัวใจล้มเหลว และอาจกระตุ้นภาวะหัวใจขาดเลือดได้

การนำสารสกัดกัญชามาสูบผ่านอุปกรณ์บุหรี่ไฟฟ้าสัมพันธ์กับการเกิดปอดอักเสบซึ่งอาจรุนแรงถึงแก่ชีวิตได้กัญชาและสารสกัดกัญชาอาจเกิดอันตรกิริยากับยาอื่น ๆ ได้ทำให้เกิดผลข้างเคียงจากยาและสารสกัดกัญชาได้การใช้กัญชาในระยะยาวเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคและภาวะต่าง ๆ เช่น อาการทางจิต โรคเส้นเลือดสมองตีบ โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ โรคเส้นเลือดส่วนปลายตีบ โรคถุงลมโป่งพอง เนื้อสมองฝ่อ ค่าการทำงานของตับผิดปกติ มะเร็งอัณฑะ และการท้องนอกมดลูก การกัญชาใช้ในเด็ก วันรุ่น และผู้ใหญ่ตอนต้นส่งผลเสียของการเจริญและพัฒนาการของระบบประสาท 3. คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้สารสกัดกัญชา การใช้สารสกัดกัญชาทางการแพทย์ควรเป็นไปตามข้อบ่งชี้ที่มีหลักฐานทางการแพทย์ที่มีมาตรฐานรองรับสมควรจ่ายและติดตามดูแลโดยบุคลากรทางการแพทย์ที่ได้รับการรับรองว่ามีสิทธิ์ในการจ่ายสารสกัดกัญชาเท่านั้น และก่อนการจ่ายสารสกัดกัญชาควรมีการประเมินข้อบ่งใช้ ข้อห้าม ความเสี่ยงต่อผลข้างเคียงและอันตรกิริยาระหว่างยาและทำความเข้าใจกับผู้ป่วยและญาติเสมอ และบุคคลทั่วไปที่ไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ไม่ควรใช้กัญชา โดยเฉพาะเด็กและเยาวชน ผู้ป่วยโรคปอด โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคทางจิตเวช สตรีมีครรภ์ สตรีให้นมบุตร หรือสตรีผู้วางแผนจะบุตร และไม่สมควรให้มีการใช้สารสกัดกัญชากับบุหรี่ไฟฟ้า

การรับชม : 80 ครั้ง – 2019-12-14 03:07:01